Loading...

ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการ

ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการตรวจวิเคราะห์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพร ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายและการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับคณะในกลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยรองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด

ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐาน และเครื่องมือที่มีสมรรถภาพสูง พร้อมที่จะให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ครอบคลุมด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง, การทดสอบเภสัชกรรมสมมูลและเภสัชกรรมทางเลือก, การทดสอบการละลาย/การปลดปล่อยตัวยาสำคัญ, การศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์, การพัฒนาและการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์, การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา, การฝึกอบรมและการให้คำปรึกษา รวมไปถึงการทดสอบและการให้บริการอื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ ตัวอย่างเครื่องมือที่ให้บริการ เช่น LC-MS/MS, LC-MS/Q-TOF, GC-MS/MS, GC headspace, HPLC, Karl Fischer, Dissolution tester, Disintegration tester, Bacterial endotoxin tester และเครื่องมือพื้นฐานอื่น ๆ

ปัจจุบันศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับวิเคราะห์ตัวอย่างจากทั้งนักวิจัย หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งกำลังอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 เพื่อให้ห้องปฏิบัติการมีมาตรฐานในระดับสากล ผู้ที่สนใจส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หรือทดสอบ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่:

 

การบริการงานทดสอบ-ตรวจวิเคราะห์

ดำเนินงานโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มาตรฐานห้องปฏิบัติการ

ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

ขอบเขตการให้บริการ

  • ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง (Quality control of pharmaceuticals, herbal medicines, dietary supplements and cosmetics)
  • การทดสอบเภสัชกรรมสมมูลและเภสัชกรรมทางเลือก (Pharmaceutical equivalents and Pharmaceutical alternatives testing )
  • การทดสอบการละลาย/การปลดปล่อยตัวยาสำคัญ (Dissolution/release of active pharmaceutical ingredient testing)
  • การศึกษาความคงตัว (Stability studies)
  • การพัฒนาและการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ (Development and validation of analytical methods)
  • การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา (Research and development of drug – products)
  • การฝึกอบรมและการให้คำปรึกษา (Training and Consultation)
  • การทดสอบและการให้บริการอื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการได้

 ขั้นตอนการขอใช้บริการ

  • ผู้ใช้บริการสอบถามข้อมูลการทดสอบ-ตรวจวิเคราะห์ โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอใช้บริการทดสอบตัวอย่าง (FS 7-01) และส่งอีเมลไปยัง ipservicecenter@gmail.com
  • เจ้าหน้าที่พิจารณาวิธีการทดสอบ-ตรวจวิเคราะห์พร้อมจัดทำใบเสนอราคาค่าบริการส่งกลับผู้ใช้บริการ
  • หากผู้ใช้บริการอนุมัติให้ดำเนินการตามใบเสนอราคา ผู้ใช้บริการลงนามอนุมัติการทดสอบในใบเสนอราคาพร้อมกรอกแบบฟอร์มใบรับ-ส่งตัวอย่าง (FS 7-04) นำมาในวันส่งตัวอย่าง
  • ตัวอย่างที่ส่งตรวจวิเคราะห์ต้องบรรจุในภาชนะปิดสนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและมีฉลากระบุรายละเอียดตัวอย่างปิดไว้ที่ภาชนะบรรจุตัวอย่าง
  • ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการจะปฏิเสธการรับตัวอย่างที่มีสภาพไม่เหมาะสม
  • วัน/เวลาทำการ: วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

 

ระยะเวลาการทดสอบ-ตรวจวิเคราะห์

ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในกรณีที่ต้องการผลการตรวจวิเคราะห์เร่งด่วนภายใน 1 สัปดาห์ ต้องชำระค่าบริการ 2 เท่า

การรับผลวิเคราะห์

สามารถรับผลได้ในวันและเวลาทำการ โดยสิ่งที่ต้องนำมาในวันรับผลการทดสอบ-ตรวจวิเคราะห์ คือใบรับตัวอย่างทดสอบพร้อมชำระค่าบริการในวันรับผล

การชำระค่าบริการ

ชำระเต็มจำนวน (ไม่มีการหักภาษี) ชำระโดย

  • เงินสด/เงินโอน

อัตราค่าบริการ Download

 

ศูนย์บริการเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

99 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม ชั้น 10 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

         โทรศัพท์: 02 986 9214-19 ต่อ 4574

         Email: tu.ipservicecenter@gmail.com

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://pharm.tu.ac.th/ --------

       

ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค

ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค
Drug Information and Consumer Protection Center (DICPC)

 

บุคลากรในหน่วยวิจัย:

หัวหน้าศูนย์
อาจารย์ เภสัชกรปรุฬห์ รุจนธำรงค์
 

รองหัวหน้าศูนย์
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรอรัมษ์ เจษฎาญานเมธา
 

รายนามสมาชิก
รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุราพร พงศ์เวชรักษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงกุสาวดี เมลืองนนท์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงสุชาดา สูรพันธุ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรคณินทร์ รังสาดทอง
อาจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงปวลี เนียมถาวร
อาจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงตวงรัตน์ โพธะ
อาจารย์ เภสัชกรหญิงกิตติยา จันทรธานีวัฒน์
อาจารย์ ดร. เภสัชกรสุจินต์ นิทัศน์ปกรณ์
พ.ท.หญิง ดร. เภสัชกรหญิงศนิตา หิรัญรัศมี
อาจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงกรกช กังวาลทัศน์
อาจารย์ เภสัชกรพีรพัฒน์ ทรัพย์พฤทธิกุล
 

Research focus : 

งานวิจัยด้านระบบยา ระบบสุขภาพ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของนโยบายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ

 

ผลงานตีพิมพ์ในหน่วยวิจัย : 

  • ปรุฬห์ รุจนธำรงค์, กุสาวดี เมลืองนนท์, ศนิตา หิรัญรัศมี, ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, สุชาดา สูรพันธุ์. การวิเคราะห์ผลกระทบของการออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบในประเทศไทย : ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(4): 1179-1190
  • ปรุฬห์ รุจนธำรงค์, ณัฏฐณิชา สวยสม, ณิชากร เชี่ยวชาญธนกิจ, เจนสุดา ศุภรพันธ์ และตวงรัตน์ โพธะ. การวิเคราะห์ระบบยาในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบเภสัชกรรมทางไกล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2565; 9(1): 1-15.
  • Wongvisavavit R, Nantajit D, Phodha T. Cost-Effectiveness Analysis of Non-Mydriatic Ultrawide-Field Fundus Photography versus Pharmacological Pupil Dilatation in Diabetic Retinopathy Screening Program. J Med Assoc Thai 2021;104:1-7. doi.org/10.35755/jmedassocthai.2021.05.12238

 

Facebook ของศูนย์ : https://www.facebook.com/pharmatopiaTU/

สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โอสถโดม

สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ร้านยา “โอสถโดม” เพื่อสังคม จุดเดิมตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (บริเวณอินเตอร์โซน) แต่ในปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ริมถนนเชียงราก ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อให้ใกล้ชิดและบริการให้กับชุมชนบริเวณใกล้เคียงได้มากยิ่งขึ้น
 - บริการภายใต้การจัดการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 - เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการเพื่อสังคม
 - ให้บริการคำปรึกษาเรื่องยา จำหน่ายยา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลากหลาย โดยเภสัชกรระดับอาจารย์
 - มีห้องให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการความส่วนตัว
สามารถประเมินส่งต่อผู้ป่วยได้ หรือให้คำแนะนำว่าควรพบแพทย์เฉพาะทางอย่างไร
นอกจากนี้ ทางร้านยังมีโครงการร่วมกับศูนย์ Viva City ดูแลการจัดยาให้กับนักศึกษา-บุคลากรธรรมศาสตร์ การตรวจคัดกรองโรคชุมชน และทำงานร่วมกับภาครัฐ อาทิ แจกชุดตรวจ ATK พร้อมทั้งเปิดเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะต่างๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น และสถานที่ศึกษาดูงาน ซึ่งแผนในอนาคตโดมโอสถกำลังเตรียมทำสวนสมุนไพรเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการทำวิจัยและพัฒนายาต่อไป
เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา: 12.00 – 19.00 น. (มีที่จอดรถ)
ติดต่อสอบถามได้ที่ Line @AWU6539A

ตารางเวรร้านยาของคณะ
https://calendar.google.com/calendar/u/0/r?tab=mc